7,801 view

ยุทธศาสตร์กรมสารนิเทศ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๖๘

"สื่อสารการทูตไทย เชื่อมไทยสู่สากล"

อำนาจหน้าที่

       เป็นองค์กรหลักในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์นโยบายต่างประเทศและบทบาทด้านการต่างประเทศของไทยสู่สาธารณชน องค์กรที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงและใช้อ้างอิงได้ ก้าวทันโลกและมีความเข้าใจโลก สอดรับกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของไทยและความนิยมไทยในต่างประเทศ

 

พันธกิจ

  • เผยแพร่นโยบายต่างประเทศ ภารกิจของกระทรวงการต่างประเทศ และความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นการต่างประเทศของไทยสู่สาธารณชน
  • ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีของไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ไทยเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ
  • สร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ
  • รับฟังและนำความเห็นของสาธารณชนเพื่อพัฒนาการสื่อสารข้อมูลด้านการต่างประเทศให้สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย
  • ดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยใช้ soft power เพื่อให้ไทยเป็นที่รู้จักและส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยในหมู่สาธารณชนต่างประเทศ

 

แผนยุทธศาสตร์: แผนย่อยแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่างประเทศ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐)

แผนย่อยที่ ๔ การส่งเสริมสถานะและบทบาทของประเทศไทยในประชาคมโลก (Status)

      เป้าหมาย ประเทศไทยมีเกียรติภูมิอำนาจต่อรอง และได้รับการยอมรับในสากลมากขึ้น

แผนย่อยที่ ๕ การต่างประเทศมีเอกภาพและบูรณาการ (Synergy)

      เป้าหมาย ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการต่างประเทศอย่างมีเอกภาพ และไทยเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกับต่างประเทศในทุกมิติมากขึ้น

 

แนวทางการดำเนินงาน

  • มุ่งเน้นการสื่อสารข้อมูลด้านการต่างประเทศในเชิงรุกที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ
  • สร้างพันธมิตรร่วมกับองค์กรและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เช่น การต่างประเทศ สังคมวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ กีฬา และการท่องเที่ยว
  • ร่วมมือกับหน่วยงงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน soft power ให้เป็นวาระแห่งชาติ
  • ส่งเสริมการเข้าถึงและการรับรู้การต่างประเทศไทยตั้งแต่ระดับเยาวชน
  • พัฒนาทักษะบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เตรียมความพร้อมให้บุคลากรในทุกระดับพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต

 

ตัวชี้วัด

  • คะแนนตัวชี้วัดการต่างประเทศไทย ยทธศาสตร์ชาติ 5S5มี (คะแนนต่อปี)
    ในลักษณะ Composite Index
    N = S1 + S2 + S3 + S4 + S5 (๒๐ + ๒๐ + ๒๐ + ๒๐ + ๒๐) เต็ม ๑๐๐ 
    • คะแนนตัวชี้วัดการต่างประเทศไทย ในห้วงปี ๒๕๖๖ -๒๕๗๐ ไม่น้อยกว่า ๘๐ คะแนน
    • คะแนนตัวชี้วัดการต่างประเทศไทย ในห้วงปี ๒๕๗๑ -๒๕๗๕ ไม่น้อยกว่า ๘๕ คะแนน
    • คะแนนตัวชี้วัดการต่างประเทศไทย ในห้วงปี ๒๕๗๖ -๒๕๘๐ ไม่น้อยกว่า ๙๐ คะแนน